พระหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ ปี 2497 เนื้อว่าน จุดสังเกตโดยประมาณ

พระหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ ปี 2497 เนื้อว่าน พิมพ์พระรอดหน้าใหญ่

พระหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ ปี 2497 เนื้อว่าน
     เมื่อเอ่ย ถึงประวัติในการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดว่านรุ่นแรก พ.ศ.2497 จ.ปัตตานี. มีหลายๆท่านอาจจะเคยได้ยินได้ฟังข้อมูลมามากมาย จากสื่อนิตยสารต่างๆ จากประวัติที่ได้ฟังเขาเล่าขานกันมา แต่ในส่วนที่ผมเขียนให้ได้อ่าน ก็เป็นการรวบรวมข้อมูลจากหน้าเว็บต่างๆเท่าที่รวบรวมมาได้นะคับ  เรื่องราวการจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด ว่านรุ่นแรกนั้น ยังมีอีกหลายท่านที่ยังไม่ทราบความเป็นจริงว่าพระเครื่องหลวงปู่ทวดว่าน 2497 นั้น ว่านที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้น มีทั้งหมด 200 กว่าชนิด คำว่า 108 มิใช่ว่าน 108 ชนิด แต่เป็นเรื่องพุทธคุณที่มีถึง 108  คำว่า 108 ก็คือ “ได้ทุกสิ่งอะไรก็ได้ศักดิ์สิทธิ์” คำว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำพูดที่ครอบ จักรวาล นั่นเองคนเขามักจะนิยมเอามาพูดกัน ส่วนประวัติทางด้านปาฎิหาริย์และอื่นๆ จะมาลงให้อ่านกันคราวหน้าแล้วกัน

     มวลสารของพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ๒๔๙๗ จ.ปัตตานี ไม่ว่าจะแก่ดิน หรือแก่ว่าน มีมวลสารประกอบที่เห็นได้ชัดเจนทุกองค์ ว่าจะต้องประกอบไปด้วย เม็ดดำ เม็ดแดง(สีอิฐเผา) และเม็ดขาว
เม็ดแร่ที่มีมากๆอยู่ด้านหลังพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปี๒๔๙๗ หรือที่มีประปรายอยู่ด้านหน้าพระฯนั้น เป็นแร่ที่ท่านคหบดี อนันต์ คณานุรักษ์ นำมาจากเหมืองของท่าน

     เนื่องจากในขณะนั้นท่านประกอบธุรกิจด้านเหมืองแร่ด้วย ท่านเรียกแร่นี้ว่า “กิมเซียว” หากพิจารณาคำว่า “กิมเซียว” เป็นคำภาษาจีน แปลว่า ทองน้อย หรือทองอ่อน เมื่อมาพิจารณาสีของเม็ดแร่ ก็ปรากฏว่ามีสีทองอ่อนๆ ดังนั้นน่าจะสันนิษฐานว่า ท่านคหบดี อนันต์ คณานุรักษ์ คงจะตั้งชื่อแร่นี้เป็นภาษาจีนตามสีสันของแร่ที่ท่านเห็น เมื่อผมมาพิจารณาเม็ดแร่ที่มีในองค์พระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ๒๔๙๗ ปรากฏว่ามีสีเหลืองอ่อนๆ แบบสีของทอง หากส่องล้อแสง เม็ดแร่ดังกล่าวจะสะท้อนแสง มองเห็นเป็นแบบสีของเหล็กโครเมียม

ความคิดเห็น